โบราณสถาน สมัยทวารวดี
410
รวมโบราณสถานสำคัญๆ ในสมัยทวารวดี ในประเทศไทย(ปัจจุบัน)
“ทวารวดี” อาณาจักร์โบราณ อายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 12 (พ.ศ. 1100) ถึงพุทธศตวรรษที่ 15 (พ.ศ. 1400) แถบจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน เป็นสถานที่ค้นพบโบราณสถานและวัตถุหลักฐานมากที่สุด จึงคาดว่าเป็นจุดศูนย์รวมของอาณาจักรทวารวดี ครอบคลุมจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี ลพบุรี ไปจนถึงภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ชาวมอญและละว้าในอาณาจักรทวาราวดีมีการติดต่อค้าขายทางทะเลอย่างกว้างขวาง เพราะมีเส้นทางออกสู่ทะเลมากมาย เมื่อความรุ่งเรืองของอาณาจักรทวารวดีค่อยๆเสื่อมลง ฝ่ายขอมจึงฉวยโอกาสเข้าตีเมือง อาณาจักรทวารวดีถึงกาลล่มสลายและตกอยู่ในอำนาจของขอมอย่างสมบูรณ์เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 16
ในสมัยอาณาจักรทวารวดีได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธและฮินดู สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีที่หลงเหลือถึงปัจจุบันจึงมักเหลือเพียงซากฐานโบราณสถาน ดังเช่นที่พบในแหล่งโบราณคดีที่นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และลพบุรี มักก่ออิฐและใช้สอดิน บางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง การก่อสร้างบริเวณฐานเจดีย์มักเป็นรูปฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า ย่อมุม และมีบันไดลงไปด้านล่าง ส่วนเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำมียอดแหลมอยู่ด้านบน สันนิษฐานว่าเป็นแบบอย่างที่รับจากศิลปะอินเดียสมัยปาละ
กล่าวคือ สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาเช่นเดียวกับประติมากรรม ได้แก่ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ต่างๆ ซึ่งมักอยู่ในสภาพปรักหักพัง ส่วนใหญ่เป็นอาคารก่ออิฐสอดิน มีแผนผังแตกต่างกันออกไป เช่น ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือผังกลม อิฐที่ใช้มักมีขนาดใหญ่ มีแกลบผสม หรืออาจใช้ศิลาแลงบ้างในบางครั้ง ในจังหวัดนครปฐม ได้พบสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี อยู่หลายแห่งด้วยกัน ที่สำคัญเช่น เจดีย์พระประโทน เจดีย์จุลประโทน เจดีย์วัดพระเมรุ เป็นต้น
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมทวารวดีเท่าที่มีการสำรวจทางโบราณคดี อาทิ วัดพระเมรุและเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม ปรากฏประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นประดับอยู่รอบฐาน (ส่วนใหญ่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดนครปฐม) และที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
“ทวารวดี” อาณาจักร์โบราณ อายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 12 (พ.ศ. 1100) ถึงพุทธศตวรรษที่ 15 (พ.ศ. 1400) แถบจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน เป็นสถานที่ค้นพบโบราณสถานและวัตถุหลักฐานมากที่สุด จึงคาดว่าเป็นจุดศูนย์รวมของอาณาจักรทวารวดี ครอบคลุมจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี ลพบุรี ไปจนถึงภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ชาวมอญและละว้าในอาณาจักรทวาราวดีมีการติดต่อค้าขายทางทะเลอย่างกว้างขวาง เพราะมีเส้นทางออกสู่ทะเลมากมาย เมื่อความรุ่งเรืองของอาณาจักรทวารวดีค่อยๆเสื่อมลง ฝ่ายขอมจึงฉวยโอกาสเข้าตีเมือง อาณาจักรทวารวดีถึงกาลล่มสลายและตกอยู่ในอำนาจของขอมอย่างสมบูรณ์เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 16
ในสมัยอาณาจักรทวารวดีได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธและฮินดู สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีที่หลงเหลือถึงปัจจุบันจึงมักเหลือเพียงซากฐานโบราณสถาน ดังเช่นที่พบในแหล่งโบราณคดีที่นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และลพบุรี มักก่ออิฐและใช้สอดิน บางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง การก่อสร้างบริเวณฐานเจดีย์มักเป็นรูปฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า ย่อมุม และมีบันไดลงไปด้านล่าง ส่วนเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำมียอดแหลมอยู่ด้านบน สันนิษฐานว่าเป็นแบบอย่างที่รับจากศิลปะอินเดียสมัยปาละ
กล่าวคือ สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาเช่นเดียวกับประติมากรรม ได้แก่ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ต่างๆ ซึ่งมักอยู่ในสภาพปรักหักพัง ส่วนใหญ่เป็นอาคารก่ออิฐสอดิน มีแผนผังแตกต่างกันออกไป เช่น ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือผังกลม อิฐที่ใช้มักมีขนาดใหญ่ มีแกลบผสม หรืออาจใช้ศิลาแลงบ้างในบางครั้ง ในจังหวัดนครปฐม ได้พบสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี อยู่หลายแห่งด้วยกัน ที่สำคัญเช่น เจดีย์พระประโทน เจดีย์จุลประโทน เจดีย์วัดพระเมรุ เป็นต้น
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมทวารวดีเท่าที่มีการสำรวจทางโบราณคดี อาทิ วัดพระเมรุและเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม ปรากฏประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นประดับอยู่รอบฐาน (ส่วนใหญ่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดนครปฐม) และที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี